คนโรงแรมหลายคนคงจะคิดว่าการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) เป็นเพียงแค่ประโยคสวยหรูที่ผู้บริหารคิดขึ้นมา เพื่อประดับเอาไว้ในรายงานของโรงแรมเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว การตั้งเป้าหมายของโรงแรมนั้นสำคัญมาก ในทุกธุรกิจจะมีการตั้งเป้าหมายเสมอ หรือแม้แต่การทำงานเอง คนเราก็มักจะมีการตั้งเป้าหมายของการทำงานนั้นๆ ด้วยเช่นกัน เพราะการตั้งเป้าหมาย เปรียบเสมือนเส้นชัยที่เราจะต้องไปให้ถึง หากกำหนดเส้นชัยผิด การเดินทางไปถึงเส้นชัยนั้นก็จะผิดทั้งหมด
เป่าหมายที่ดีควรมีลักษณะ SMART แล้ว SMART คืออะไร?
SMART เป็นวิธีที่ตั้งเป้าหมายที่สามารถใช้ได้กับองค์กรต่างๆ หรือทุกคนทุกเพศทุกวัย ประกอบไปด้วย
1. S -pecific (เจาะจง) คือ การตั้งเป้าหมายที่เจาะจง มีข้อมูลที่รายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมาที่ตั้งไว้ ไม่ควรระบุให้กว้างจนเกินไป เช่น เเทนที่จะตั้งเป้าว่า “จะเพิ่มยอดจองโรงแรม” เป็น “จะเพิ่มยอดจองโรงแรมให้มากกว่าปีที่แล้ว 2 เท่า”
คำถามที่ผู้บริหารควรพิจารณา คือ
– ต้องการให้โรงแรมเป็นแบบไหน?
– สิ่งที่ต้องการให้เป็นมัน Specific พอหรือยัง?
2. M-easurable (การวัดผล) การวัดผลช่วยให้ไม่หลุดจากเป้าหมายที่วางไว้ เช่น เเทนที่จะตั้งเป้าหมายในการเพิ่มผู้เข้าพักให้มากขึ้น เป็น กำหนดว่าในเดือนนี้ต้องมีคนเข้าพักอย่างน้อย 30 ห้อง
คำถามที่ผู้บริหารควรพิจารณา คือ
– สามารถวัดผลได้หรือไม่ อย่างไร?
– พนักงานจะสามารถติดตามเป้าหมายของตัวเองได้อย่างไร?
– พนักงานจะรู้ได้อย่างไรเมื่อบรรลุเป้าหมาย ใครช่วยได้บ้าง?
3. A-ttainable (การบรรลุเป้าหมาย) การตั้งเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งผู้บริหารควรเป็นผู้ให้คำแนะนำกับคนโรงแรมในการวางเป้าหมายของงานตัวเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงแรม และจะต้องประเมินแล้วว่าพวกเขาสามารถทำได้จริง เพราะถ้าเป้าหมายยากหรือหนักเกินไป อาจทำให้พนักงานรู้สึกหมดกำลังใจและไม่อยากทำในที่สุด
คำถามที่ผู้บริหารควรพิจารณา คือ
– พนักงานของคุณสามารถทำได้บรรลุเป้าหมายได้จริงหรือไม่?
– มีอะไรบ้างที่สามารถขัดขวางไม่ให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายได้?
– พนักงานมีเวลาเพียงพอในการบรรลุเป้าหมายนี้หรือไม่?
– พนักงานของคุณมีทักษะหรือเครื่องมือที่ต้องการแแล้วหรือไม่?
4. R-ealistic (ความเป็นจริง) การตั้งเป็นหมายที่ใหญ่เป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงความเป็นจริงว่าสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงในเวลาที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะถ้าตั้งไว้ใหญ่เกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนล้าเเละถอดใจไปก่อน ทางที่ดีคือตั้งเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ทีละอย่าง เพราะจะเป็นเเรงผลักให้พนักงานได้บรรลุเป้าหมายต่อไปที่ใหญ่ขึ้นได้
คำถามที่ผู้บริหารควรพิจารณา คือ
– มีโอกาสเป็นจริงหรือไม่?
– ทำไมเป้าหมายนี้สำคัญสำหรับโรงแรม?
– ทำไมผู้บริหารถึงต้องการบรรลุเป้าหมายนี้?
5. T-Time (เวลา) ควรตั้งกรอบเวลาที่ชัดเจนเเน่นอน หรือตั้ง deadline ที่เหมาะสมไม่นานไม่สั้นจนเกินไป เช่น หากอยากให้รายได้โรงแรมเพิ่มมากขึ้น ควรกำหนดเวลาว่าจะใช้แผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดจองประมาณช่วงไหน เป็นเวลาประมาณกี่เดือน
คำถามที่ผู้บริหารควรพิจารณา คือ
– มีเวลาที่จำกัดในการบรรลุเป้าหมายหรือไม่?
– พนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่?
– ใช้เวลานานแค่ไหนในการบรรลุเป้าหมาย?
นอกจากการใช้ SMART กับโรงแรมจะช่วยให้ทุกคนมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน และมีจุดร่วมเดียวกันแล้ว การนำ SMART มาปรับใช้ในชีวิตการทำงาน หรือแม้แต่ชีวิตส่วนตัวก็ช่วยให้คนคนนั้นเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการได้เห็นตัวเองบรรลุตามเป้าหมายแต่ละอย่างที่กำหนดเอาไว้ย่อมต้องเกิดความภูมิใจ ทั้งนี้ การทำเป้าหมายให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องยาก เคล็ดลับในการตั้งเป้าหมายก็คือการย่อยเป้าหมายให้เล็กลงและค่อยๆ ทำให้สำเร็จที่ละเป้าหมายนั่นเองครับ
ไม่พลาดทุกข่าวสาร และบทความดีๆ จาก Smart Finder อัพเดทตรงถึงเมล์คุณ เพียงแค่กรอกอีเมล์ลงไปในช่องด้านล่างเท่านั้น
[mc4wp_form id=”6960″]
จัดทำโดย Smart Finder
Smart Finder a hotel software leader, modern innovative and best choice for your hotel.
Smart Finder ผู้นำด้านซอฟต์แวร์โรงแรมที่ทันสมัย และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโรงแรมของคุณ