ถ้าคุณเจอกับวันแย่ๆ สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการก่อนจะนอนก็คือ จะผ่านคืนนั้นไปได้อย่างไรเพื่อที่จะไปต่อได้ในวันรุ่งขึ้น

ลองจิตนาการดูว่า ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ กำลังใจของคุณคงจะเหือดแห้งน่าดู คุณคงจะรู้สึกผิดหวัง และต้องพยายามทำเป็นมั่นใจในตัวเองให้มากที่สุด ถึงแม้จะได้รับประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจมาก็ตาม

เมื่อคุณเจอกับเหตุการณ์ด้านลบ ความท้าทายอย่างหนึ่งก็คือความสามารถที่จะดึงความมั่นใจกลับมาโดยใช้ระยะเวลาให้สั้นที่สุด คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้สึกด้านลบในที่ทำงานมักจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ไม่ต้องห่วง พวกเรามีไอเดียที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างมืออาชีพมาให้แล้ว

อ่านจบแล้ว อย่าลืมโหลดแบบทดสอบความมั่นใจในตัวเองด้วยนะ

8 เคล็ดลับที่จะดึงความมั่นใจกลับมาหลังจากเจอวันแย่ๆ

1.คุยกับหัวหน้างานของคุณ

สังคมของพวกเราเป็นประเภทที่กลัวจะถูกมองว่าอ่อนแอ ซึ่งจะก่อให้เกิดพฤติกรรมด้านลบ 29% ต่อต้านการขอความช่วยเหลือจากที่บ้าน และ 40% ก็กลัวที่จะเป็นคนดีมีน้ำใจในที่ทำงาน เพราะกลัวคนอื่นจะหวังผลประโยชน์จากพวกเขา

สำหรับคนส่วนมากที่กลัวการขอความช่วยเหลือจากที่บ้าน ก็เพราะกลัวว่าจะถูกมองว่าไม่มีความสามารถแก้ปัญหาเอง ไม่เพียงแต่เรื่องที่ทำผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการไม่แจ้งข่าวสารที่สำคัญหรือหลีกเลี่ยงพวกเขาในอนาคตด้วย

ให้หัวหน้าของคุณรู้ว่าคุณจดจำสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้น และขอคำปรึกษาจากเขาบ้าง หัวหน้าของคุณจะได้เข้าใจ และรู้ว่าคุณพยายามควบคุมสถานการณ์เวลาที่เกิดความผิดพลาด

2.คำว่า “แย่” ของคุณคืออะไร เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นจริง

“ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่าการวิจารณ์ตัวเอง” หลายคนพูดแบบนั้น แต่ก็ยังคงคาดหวังถึงความเพอร์เฟค ของตัวเอง

ถ้าโรคของความต้องการเป็นคนเพอร์เฟคมีอยู่เต็มไปหมดในตัวคุณ คงไม่น่าแปลกใจถ้าคำว่า “แย่” ของคุณจะดูเลวร้ายกว่าความเป็นจริงที่เป็น

เมื่อรู้สึกไม่ดี คุณควรจะระบายให้หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานฟัง ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีแค่ 1 ใน 3 อย่างนี้เท่านั้น

1.เป็นครั้งแรกที่คุณทำผิดพลาด ซึ่งทุกคนก็เคยทำผิดพลาดมาก่อน

2.มันง่ายพอที่จะแก้ไข

3.มันเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้ยาก

เมื่อคุณโฟกัสไปที่ความเพอร์เฟค คุณก็จะยิ่งเห็นความผิดพลาดนั้นชัดเจนขึ้น ถ้ามันดูเหมือนว่าจะเป็นความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ส่งงานไม่ทันเดดไลน์ หรืออื่นๆ ความเชื่อมั่นในตัวเองของคุณจะต้องมีมากกว่านั้น

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายขึ้น พยายามทำหน้าที่ของคุณให้ดีที่สุด แก้ไปทีละขั้นตอน และมองไปแต่ข้างหน้า มันแย่ขนาดนั้นจริงๆ หรือเปล่า หรือคุณไม่มีกำลังพอที่จะทำ หรือมีอะไรที่คุณพอจะทำได้ตอนนั้นไหม? คุณควรจะประเมินปัญหานั้นอย่างถี่ถ้วน แค่ 5 นาทีก็พอ อย่าไปขยายปัญหาให้ใหญ่ขึ้นจากความตื่นตระหนกของคุณ  แต่ให้เพิ่มความเขื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหานั้นได้  แล้วปัญหานั้นจะง่ายกว่าที่คุณมองเห็นครั้งแรก

3.อย่ากลับไปหาความล้มเหลวด้วยการคิดว่าจะล้มเหลวอีก

คนส่วนใหญ่อยากที่จะเป็นคนเพอร์เฟค โดยมีปฏิกิริยาต่อต้านความผิดพลาดมากเกินไป นั่นกลายเป็นมาตรฐานในการเผชิญหน้ากับเรื่องต่างๆ คุณควรจะเริ่มมองว่าความผิดพลาดของตัวเองเป็นเรื่องธรรมดา

เพราะไม่สำคัญว่าคุณจะประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ คุณจะไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะที่เป็นผู้นำ หรือควรได้รับความสำเร็จนั้น คนที่มีความเพอร์เฟคมากจะทำให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองน้อยไปด้วย

การลดความสำเร็จที่จะได้รับลง และคิดว่างานนั้นไม่มีค่าพอจะให้ภูมิใจเป็นสิ่งที่คิดได้ง่าย แต่ถ้าคุณลองบอกกับตัวเองว่า จะเริ่มยอมรับความสำเร็จ และคุณค่าที่ควรจะได้รับ สิ่งนั้นจะสะท้อนออกมาจากงานของคุณเอง

นักจิตวิทยา Amy Cuddy บอกไว้ในงานวิจัยของเธอว่า “เสแสร้งว่าเป็นแบบนั้น จนกว่าคุณจะกลายเป็นแบบนั้นจริงๆ” นั่นหมายความว่าเมื่อคุณส่งข้อความไปถึงตัวเองในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความล้มเหลว มันจะก่อให้เกิดพลัง ความสำเร็จ และคุณค่า งานของคุณก็จะเข้าใกล้ความสำเร็จได้ด้วยกระบวนการคิดนี้ นี่คือสิ่งที่คุณควรจะเชื่อมั่นในตัวเอง

4.ประเมินการมีส่วนรวมของคุณในที่ทำงาน

นี่เป็นปัญหาของคนส่วนมากใน U.S. คนทำงานไม่ได้ต้องการที่จะอยู่ในที่ทำงานจริงๆ หลักฐานก็คือมีเพียง 34.2% เท่านั้นที่มีส่วนร่วมในที่ทำงาน นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่ได้สนใจ และเมื่อพวกเขาไม่สนใจ พวกเขาก็แค่ทนทำงาน แล้วจะนำคุณภาพของงาน หรือความหลงใหลในงานที่ทำกลับมาได้อย่างไร?

ถ้าคุณรู้สึกว่าไม่มีส่วนร่วมในที่ทำงาน อันดับแรก คุณควรจะพูดคุยกับหัวหน้าอีกครั้ง เขาหรือเธอจะเตือนคุณว่างานของคุณออกมาไม่ดี และถ้าคุณสามารถอธิบายอย่างตรงไปตรงมาได้ว่าทำไม นั่นอาจจะนำไปสู่การพูดคุยอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับทิศทางการทำงานของคุณ จากนั้น ทั้งหมดก็อยู่ที่ว่าบทสนทนาจะจบลงอย่างไร ถ้าหัวหน้าของคุณยอมรับในสิ่งที่คุณพูด นั่นก็อาจจะหมายถึงได้เวลาเปลี่ยนแล้ว!

ที่มา : blog.hubspot.com

วิธีการดาวน์โหลดแบบทดสอบความมั่นใจ

  1. กรอกอีเมล์จริงของคุณ
  2. กดปุ่มดาวน์โหลด (Download)
  3. จากนั้นจะมีไฟล์ Excel ส่งเข้าอีเมล์ของคุณ

[caldera_form id=”CF586f1f2e52f47″]

ติดตามตอนจบอีก 4 เคล็ดลับได้ที่นี่  สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองหลังจากผ่านเรื่องแย่ๆ ได้อย่างไร : 8 เคล็ดลับนี้ช่วยได้(ตอนจบ)

ไม่พลาดทุกข่าวสาร บทความดีๆ อัพเดทโดนๆ กรอกอีเมล์ลงในช่องด้านล่างนี้ได้เลย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกส่งไปในเมล์ของคุณ
[mc4wp_form id=”1533″]