1.ชื่อร้านต้องเป็นเอกลักษณ์ของอาหาร

การตั้งชื่อต้องสื่อไปถึงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกรองลูกค้าที่สนใจจะเข้ามาที่ร้านจริงๆ แล้วยังแสดงถึงความโดดเด่นของร้านคุณ เช่น ร้านอาหารอีสาน มักจะมีคำว่า “แซ่บ” อยู่ด้วย หรือบอกประเภทของอาหารไปเลย เช่น ชาบูนางใน สเต็กลุงหนวด เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ก็จะทำการกรองลูกค้าให้คุณไปในตัว แต่คุณก็จะต้องระวังไม่ตั้งชื่อที่สร้างข้อจำกัดให้จนเกินไป เพราะข้อจำกัดนี้จะทำให้คุณไม่สามารถขยายไลน์ชนิดของอาหารออกไปได้อีก แต่การนำเอาคำที่ใครหลายคนไม่รู้จัก จะส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างคุณกับลูกค้า เพราะลูกค้าไม่รู้ว่าเป็นร้านอาหารประเภทไหน ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าไม่กล้าเข้าไปในร้านได้

2.อย่าซ้ำ!

ต้องทำการบ้านด้วยการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียง ว่ามีร้านอาหารแบบเดียวกับคุณหรือไม่ เค้าตั้งชื่อร้านว่าอะไร แล้วมีอะไรเป็นจุดขายที่สำคัญ แล้วพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ไปซ้ำกัน สาเหตุก็เพราะความคล้ายนั้น จะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด คุณอาจจะเสียลูกค้าไปได้ง่ายๆ แค่เพราะความสับสน

3.ทำเลที่ตั้ง

เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ คนจะต้องจดจำให้ได้ว่าร้านของคุณอยู่แถวไหน การตลาดจำเป็นมาก คุณต้องคิดแล้วว่า จะสื่อสารกับลูกค้าอย่างไรที่จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้มากที่สุด สมัยนี้คนไม่ชอบอะไรที่มันยุ่งยาก ยิ่งข้อมูลหาง่ายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น

4.รสชาติอาหาร

ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องคิดก่อนจะเปิดร้านอาหาร ถ้าทุกอย่างดีหมด แต่รสชาติอาหารไม่ถูกปาก ทุกอย่างก็จบ คุณจะขายอาหารให้กับคนที่มาทานครั้งแรกได้เพียงแค่ครั้งเดียว เพราะฉะนั้น คุณจะต้องคิดแล้วว่ารสชาติอาหารคุณจะเป็นแบบไหน กำหนดสูตรลงไปเลย รสชาติจะได้ไม่เปลี่ยนเวลาที่คนทำอาหารคนเก่าลาหยุดหรือลาออก และจะขายให้กับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหน เลือกให้ดี สิ่งที่คุณเลือก จะกลายเป็นเรื่องที่คุณจะต้องทำตลอดเวลาที่ยังคงดำเนินกิจการร้านอาหารนี้อยู่

5.การจัดการระบบของร้านอาหาร

ถ้าคุณวางระบบดี ร้านอาหารที่ว่าวุ่นวาย ก็จะไม่น่าปวดหัวอีกต่อไป พยายามทำให้เป็นระบบ คิดตั้งแต่การรับคนเข้าทำงาน การเทรนงาน รวมไปถึงการนำเอาระบบบริหารจัดการร้านอาหาร มาใช้ เพื่อให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ก็จะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้นเช่นกัน

5.1 บริหารเงิน

ใช้ต้นทุนเท่าไหร่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อวันเท่าไหร่ และมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ ควรจะมีเงินฉุกเฉินสำรองไว้ด้วย

5.2บริหารงาน

คุณจะต้องแบ่งขอบเขตของการทำงานให้ชัดเจน ใครทำหน้าที่อะไรบ้าง กฎระเบียบ วันหยุด ต้องให้ครบ พร้อมที่จะให้ร้านสามารถเดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม (ทางที่ดีควรมี Plan B สำรองไว้ด้วยนะ) (อ่าน กฎ 7 ประการก่อนคิดทำธุรกิจร้านอาหาร)

5.3บริหารคน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แรงงานคนสำคัญมาก ถ้าคุณมีคนมาทำงานไม่มากพอ การบริการลูกค้าก็จะติดขัด อาจนำไปสู่ความไม่พอใจ และทำให้ชื่อเสียงร้านของคุณย่ำแย่ในที่สุด (อ่าน วิธีรับมือเมื่อถูกลูกค้า complaints)

ไม่พลาดทุกข่าวสาร บทความดีๆ อัพเดทโดนๆ กรอกอีเมล์ลงในช่องด้านล่างนี้ได้เลย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกส่งไปในเมล์ของคุณ
[mc4wp_form id=”1533″]