ต้อนรับ Airbnb เข้าสู่วงการโรงแรม

Airbnb (ชื่อเต็มคือ Airbedandbreakfast) ธุรกิจนี้เริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่า ใครก็ตามที่มีห้องว่างสามารถเปิดเปิดห้องให้ผู้อื่นมาเช่าได้เลย ใช่แล้วค่ะ ไม่ว่าคุณจะมีห้องว่างแบบไหนก็ตามไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรงแรมหรือรีสอร์ท ที่ Airbnb แห่งนี้เสนอขายให้คุณได้ ตั้งแต่เต็นท์กลางป่า ไปจนถึงปราสาทโบราณ ส่วนราคาน่ะหรอ ก็ครอบคลุมทั้งแต่หลักร้อยยันหลักหมื่นต่อคืนเลยล่ะ เริ่มน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมล่ะ?

รายได้ของ Airbnb

  1. Airbnb จะบวกเพิ่มจากราคาห้องพักประมาณ 12%
  2. Airbnb จะเก็บค่าธรรมเนียมจ่ายเงินจากผู้เข้าพักอีก 3% จากเจ้าของที่พัก

Airbnb ในมุมมองของผู้ประกอบการ

ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้ เพียงแค่มีห้องว่างก็สามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้าพักได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมหรือหอพัก คุณก็สามารถแชร์ห้องพักให้กับนักท่องเที่ยวได้ในราคาที่ถูกกว่าโรงแรม ก่อให้เกิดรายได้ไม่มากก็น้อย ดีกว่าปล่อยห้องว่างไว้เฉยๆ

Airbnb ในมุมมองของนักท่องเที่ยว

ในส่วนนี้ขอแยกออกเป็น 2 กระแส

กระแสแรก เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบความท้าทาย ต้องการสัมผัสกับมุมมองที่แปลกใหม่ เก็บประสบการณ์แบบคนท้องถิ่น ไม่ใช่แบบนักท่องเที่ยว รวมไปถึงประหยัดค่าใช้จ่ายที่พัก เมื่อต้องการเข้าพักเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มนี้จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก ซึ่งหากจะมาท่องเที่ยวแถบเอเชียจะพักเป็นเวลา 15 คืน โดยเฉลี่ย

กระแสที่สอง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในโรงแรม เพราะส่วนต่างของราคาห้องพักในประเทศไทยและห้องพักของ Airbnb ไม่ต่างกันมาก เมื่อเทียบกับราคาห้องพักในต่างประเทศ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จึงมองว่าการพักในโรงแรมมีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐาน และมีแผนกต้อนรับคอยดูแลตลอด 24 ชม.

นอกจากนี้ ยังมีบางกลุ่มที่หาข้อมูลที่พักจาก Airbnb แต่ไม่จองผ่าน Airbnb ด้วยเหตุผลที่ว่าแทนที่จะเสียเงินเพิ่มให้กับ Airbnb พวกเขายอมเสียเงินเพิ่มให้กับเจ้าของดีกว่า ซึ่งอย่างที่บอกไปว่า Airbnb จะคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 15% (บวกจากค่าที่พัก 12% และค่าธรรมเนียมจากการจองอีก 3%) นั่นหมายความว่า ถ้าค่าห้องคืนละ 1,000 บาท นักท่องเที่ยวต้องจ่ายทั้งหมด 1,120 บาท แต่เจ้าของได้ค่าที่พัก 970 บาท แต่ถ้าพวกเขาจองตรง ผ่านเว็บไซต์โรงแรมhttp://smartfinder.asia/th/complete-website-solution-for-hotels/ ก็จะจ่ายแค่ 1,000 เจ้าของก็ไม่โดนหักค่าธรรมเนียมอีก 30 บาทนั่นเอง

Airbnb ในมุมมองของผู้ประกอบการโรงแรม

แน่นอนว่า การมาของ Airbnb ส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจโรงแรม และกลายมาเป็นคู่แข่งหลัก โดยเฉพาะโรงแรมที่อยู่ตลาดระดับกลางถึงล่าง เริ่มจากนักท่องเที่ยวจีนที่ใช้ Airbnb กว่า 1 ล้านคน ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทยได้ไม่ยาก แล้วยิ่งมีการขยายตัวของห้องพักในกรุงเทพฯ กว่า 9 พันห้องเทียบกับเมื่อปีที่แล้วมีเพียง 4 พันห้อง แถมห้องพักก็ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่โรงแรมราคาใกล้เคียงกันไม่มีอีกด้วย เช่น ขนาดห้องพักที่ใหญ่กว่า และห้องครัวไว้สำหรับทำอาหาร

ทำไมถึงเป็น Disruptive Business

จากบทความก่อนหน้าใครที่เคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Disruptive Technogies  ก็คงจะเข้าใจคำว่า Disruptive Business ได้ไม่ยาก แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็เช่น Uber หรือ Grab Taxi ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน อย่างกรณีของ Airbnb ก็มีปัญหาจากการขยายตัวของธุรกิจ เช่น

  1. ก่อให้เกิดการรบกวนในบริเวณที่พักอาศัยของประชาชน
  2. ปัญหาความปลอดภัยของห้องพักที่ไม่ได้มาตรฐาน คือ ขาดอุปกรณ์ดับเพลิง หรือ พนักงานรักษาความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดเหตุร้าย หรือมีอุบัติเหตุเกิดแก่นักท่องเที่ยว ก็อาจจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
  3. ภาษีที่รัฐบาลไม่สามารถเก็บได้จากการปล่อยเช่าห้องพักของ Airbnb
    ถึงแม้ว่า จะมีกฎหมายควบคุมห้องพัก ทำให้การขยายตัวของห้องพัก Airbnb ชะลอตัวลง แต่ในทางกลับกัน ก็ช่วยให้ธุรกิจเข้ามาแข่งขันในตลาดโรงแรมได้อย่างเต็มตัวมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้า Airbnb ยังเป็นคนละกลุ่มกับนักท่องเที่ยวหลักที่เข้าพักโรงแรมในไทย แล้วราคาโรงแรมในไทยก็ใกล้เคียงกับ Airbnb นักท่องเที่ยวจึงเลือกพักในโรงแรมมากกว่า ประเทศไทยจึงอาจจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ในอนาคต Airbnb ก็ยังคงเป็นคู่แข่งหลักที่เติบโตอย่างรวดเร็วในวงการโรงแรมอยู่ดี เพราะฉะนั้น โรงแรมควรปรับกลยุทธ์เพื่อรองกับการแข่งขันกับ Airbnb ในอนาคต

ที่มา : http://m.prachachat.net/

http://startitup.in.th/

ไม่พลาดทุกข่าวสาร บทความดีๆ อัพเดทโดนๆ กรอกอีเมล์ลงในช่องด้านล่างนี้ได้เลย แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกส่งไปในเมล์ของคุณ
[mc4wp_form id=”1533″