แผนกที่น่าจะคุ้นเคยกับ Currency Convert ก็คือ ‘Front Cashier’ หรือ Front Office กับ Cashier นั่นเอง แน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเป็นการทำรายการในเครื่อง EDC (Electric Date Capture) หรือเครื่องรูดบัตรเครดิตเวลาที่แขกมาชำระค่าบริการครับ
Currency Convert คืออะไร?
Currency Convert คือ การแปลงค่าเงินในเครื่อง EDC โดยปกติแล้วบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย เวลารูดผ่านเครื่อง EDC ก็จะมีสลิปออกมา ใบแรกให้แขกเซ็น ใบที่สองให้แขกเป็น Reference แค่นั้น
แต่พอเป็นบัตรเครดิตที่ของต่างประเทศ แล้วแขกเอามารูดกับเครื่อง EDC ที่โรงแรม เครื่องจะโชว์ที่หน้าจอถามว่าจะให้ Convert Rate เงินที่จะจ่ายเป็นค่าเงินอะไร? ส่วนใหญ่จะเป็น กด 1 ค่าเงินบาท THB กด 2 ค่าเงินตามประเทศของบัตรเครดิตนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท เครื่อง EDC ก็จะถามหลังจากที่รูดบัตรแล้วว่า
- 3,000 THB
- 100 USD (บัตรที่รูดเป็นของแขกจาก USA)
หากกด 1 หมายถึง แขกจะจ่ายเป็นสกุลเงินไทย(บาท) แต่ถ้ากด 2 แขกจะจ่ายในอัตราค่าเงินของประเทศตัวเอง ในกรณีนี้คือ USD ส่วนราคาจะเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับอัตราเรตแลกเปลี่ยนที่แปลงจากค่าเงินบาทไปเป็นค่าเงินสกุลนั้นๆ ในตอนนั้นครับ
Currency Convert แล้วได้อะไร?
ส่วนใหญ่จะแนะนำให้แขก Convert เป็นค่าเงินของตัวเอง จะเป็นผลดีกับแขกมากกว่า เพราะเวลากลับประเทศไปแล้ว ใบแจ้งยอดบัตรเครดิตจะเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่ Convert เอาไว้ตอนจ่ายที่โรงแรม แต่อาจจะต้องถูกทางธนาคาร Charge เพิ่มในการใช้ฟังก์ชั่นนี้ จะกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่ากันไปตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งมักจะแจ้งเอาไว้ในสลิปตอนที่รูด แขกก็ต้องเปรียบเทียบเองว่าที่โดน Charge เพิ่มกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน จะตัดสินใจเลือกอะไร
ในทางกลับกันหากไม่ทำการ Convert แขกก็จะชำระเป็นสกุลเงินบาทตามปกติ ซึ่งเมื่อถึงรอบการชำระบัตรเครดิตแล้ว จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจะต้องเปลี่ยนจากค่าเงินบาทกลับเป็นค่าเงินของประเทศตัวเอง หมายความว่า ค่าเงินจำนวนนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาในวันที่ทำรายการก็ได้ แขกก็ต้องไปลุ้นเอาเองนะครับ แต่แน่นอนว่าแขกก็จะไม่โดน Charge เพิ่มจากการทำ Convert Rate ที่แขกมักจะกังวลว่าจะต้องจ่ายแพงขึ้นหากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของแขกในวันตัดยอดบัตรลดลง เพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา
การทำ Convert ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย หากแขกไม่ชอบความเสี่ยง ก็แนะนำให้ Convert Rate ไปเลย เพื่อให้แขกรู้ว่าจะต้องจ่ายเงินเท่าไร เมื่อคิดเป็นค่าเงินของตัวเองแล้ว สำคัญคือจะต้องแจ้งแขกก่อนว่าจะถูก Charge กี่เปอร์เซ็นต์ให้แขกรู้ด้วย ถ้าหากแขกยินดีรับความเสี่ยง เพราะไม่ยอมถูก Charge ก็ต้องอธิบายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่คาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าจะเลือกอะไรก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแขก คนโรงแรมมีหน้าที่แค่อธิบายเท่านั้นครับ
ไม่พลาดทุกข่าวสาร และบทความดีๆ จาก Smart Finder อัพเดทตรงถึงเมล์คุณ เพียงแค่กรอกอีเมล์ลงไปในช่องด้านล่างเท่านั้น
[mc4wp_form id=”6960″]
จัดทำโดย Smart Finder
Smart Finder a hotel software leader, modern innovative and best choice for your hotel.
Smart Finder ผู้นำด้านซอฟต์แวร์โรงแรมที่ทันสมัย และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโรงแรมของคุณ