การสร้างแบรนด์ว่ายากแล้ว แต่การรีแบรนด์ให้กลับมาเป๊ะกว่าเดิมนี่ยากกว่า แต่ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าพอที่จะเสี่ยง เพราะเมื่อโรงแรมของคุณเปิดมานานแล้ว หลายๆ อย่างก็เก่าไปตามสภาพ จึงไม่ค่อยมีลูกค้าอยากจะเข้ามาพักสักเท่าไหร่ เพราะมันจะดูน่ากลัวมากกว่าน่าพักอ่านะ แต่ในเมื่อคุณยังมีของดีอยู่ การรีแบรนด์จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จำเป็นต้องทำ เพื่อดึงลูกค้ากลับมา แต่ควรจะเริ่มจากตรงไหนนั้น วันนี้พี่ Smart จะมาแชร์เทคนิคการทำกลยุทธ์รีแบรนด์สำหรับโรงแรมให้อ่านกัน

  1. Start with new passion and reason

การจะรีแบรนด์ นั่นหมายถึง คุณต้องมีเหตุผลที่อยากจะปรับภาพลักษณ์ใหม่ เช่น ลูกค้าหายไป อยากจะได้ลูกค้าคืนมา อยากจะขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ อยากจะแข่งขันในตลาดที่ใหญ่ขึ้น เป็นต้น ถ้าคุณยังหาเหตุผลที่ชัดเจนในการรีแบรนด์ไม่ได้ ความเสี่ยงที่จะล้มเหลวก็มากตามไปด้วย และคุณควรจะลองวิเคราะห์ SWOT ดูก่อน เช่น S=จุดแข็ง โรงแรมคุณมีที่จอดรถที่กว้างขวาง สามารถรองรับรถทัวร์ได้, มีห้องประชุม สามารถรองรับการสัมมนาหรือคุยธุรกิจได้, อาหารมีรสชาติอร่อยและตกแต่งจานได้อย่างประณีต

W=จุดอ่อน โรงแรมเก่าแล้ว ขาดการดูแลรักษา ของที่อยู่ในห้องก็เริ่มเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และบางอย่างอาจตกรุ่นไปแล้ว

O=โอกาส มีบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลสำคัญเคยมาพัก

T=อุปสรรค พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

เมื่อคุณวิเคราะห์ออกมาแบบนี้ได้แล้ว ก็ย้อนไปดูเหตุผลของการรีแบรนด์ สมมติว่าโรงแรมของคุณเก่ามากแล้ว ลูกค้าค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ ก็ต้อง Renovate ใหม่ ปรับปรุงของใช้ภายในโรงแรมให้อยู่ในสภาพดีและทันสมัยมากขึ้น แก้ไขจุดอ่อน แล้วมาดูที่จุดแข็ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่สวยหรู แต่จำเป็นต้องเป็น”เรื่องจริง” เช่น ร้านอาหารของโรงแรมทำอาหารช้ามาก แต่พอได้อาหารมาแล้วกลับรู้สึกถึงความประณีต ความคราฟท์ ในอาหารแต่ละจาน เป็นต้น โดยคุณอาจจะบอกว่าจุดเด่นนี้ของคุณทำให้แบรนด์อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ได้

  1. Positioning and Target Clients

เมื่อคุณมีจุดขายที่ชัดเจนแล้ว ต่อมาเป็นการกำหนดจุดยืนของโรงแรม และทำความรู้จักกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ คำเตือนคือ อย่าเดา! และอย่าหลอกตัวเอง ยอมรับความจริงให้ได้ว่าลูกค้ามองโรงแรมคุณอย่างไร วิเคราะห์พวกเขาใหม่ ทำความเข้าใจ และหาความต้องการของพวกเขาให้เจอ เรียนรู้ว่าอะไรทำให้เกิดผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า หาทางแก้ไขปัญหานั้น กระตุ้นให้ลูกค้าบอกถึงข้อดีและข้อเสียของบริการ คอยสังเกตความเป็นอยู่ของลูกค้า การชวนคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็ช่วยให้คุณได้รับข้อมูลใหม่มาประกอบการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น สิ่งที่ต้องจำไว้ให้ดีคือ คุณห้ามคิดว่า โรงแรมของคุณเหมาะกับทุกคน เพราะ“การทำอะไรให้ถูกใจคนทั้งโลก เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้”

  1. Communication

เรามีทั้งจุดขาย มีทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแล้ว ต่อมา คุณจะต้องสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้ารู้จักจุดขายของคุณ การสื่อสารถือเป็นส่วนช่วยสำคัญที่จะทำให้เห็นว่าการรีแบรนด์นั้นได้ผลหรือไม่ คุณเป็นใคร แล้วต้องการจะเติบโตอย่างไร ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์อะไรจากการรีแบรนด์ของคุณ นอกจากนี้ช่องทางการขายของคุณก็ต้องเลือกวิธีที่มีประสิทธิภาพ และตรงตามภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย เช่น ถ้าโรงแรมของคุณเป็นแนวคลาสสิค วินเทจ ก็อาจจะต้องใช้ภาษาที่สุภาพ สละสลวย และดูเป็นผู้ดีเก่า เป็นต้น ในส่วนของการสื่อสารนี้ คุณอาจจะมีเครื่องมือทางการตลาดอื่นๆ มาช่วย เช่น Website Social Media เป็นต้น

  1. Evaluation

การพัฒนาทั้ง 3 ข้อ และนำมาใช้จริง การรีแบรนด์ก็เหมือนกับการพัฒนาแผนการทำงานให้เหมือนกับมีแบรนด์ใหม่ คุณต้องสื่อสารให้ชัดเจน เพราะการรีแบรนด์ไม่ได้ทำได้ทุกปี และค่าใช้จ่ายก็มีมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นคุณควรจะประเมินผลการทำงาน และดูภาพรวมให้ดี เพราะการรีแบรนด์ก็แปลว่ามันจะต้องอยู่คู่กับโรงแรมคุณไปอีกอย่างน้อย 5 ปี(อาจจะถึง 20 ปี)เลยทีเดียว

ไม่พลาดทุกข่าวสาร และบทความดีๆ จาก Smart Finder อัพเดทตรงถึงเมลคุณ เพียงแค่กรอกอีเมลลงไปในช่องด้านล่างเท่านั้น
[mc4wp_form id=”1533″]

จัดทำโดย Smart Finder

Smart Finder a hotel software leader, modern innovative and best choice for your hotel.
Smart Finder ผู้นำด้านซอฟต์แวร์โรงแรมที่ทันสมัย และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับโรงแรม